เมนู

5. จูฬธัมมสมาทานสูตร



[514] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว อย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับที่พระเขตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกะ ใกล้กรุงสาวัตถี. ครั้งนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับสนองพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "พระพุทธเจ้าข้า".
[515] พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสคำนี้ว่า. -
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทาน มี 4 อย่างเหล่านี้ 4 อย่าง อะไรบ้าง
คือ.-

1. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมานานที่เป็นสุข
ในปัจจุบัน (แต่) แต่ไปให้ผลเป็นทุกข์ ก็มี.
2. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ปัจจุบัน
เป็นทุกข์ และต่อไปก็ให้ผลเป็นทุกข์ ก็มี
3. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ปัจจุบัน
เป็นทุกข์ (แต่) ต่อไปให้ผลเป็นสุข ก็มี.
4. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ปัจจุบัน
ก็เป็นสุข และต่อไปก็ให้ผลเป็นสุขก็มี.



[516] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่เป็นสุขในปัจจุบัน (แต่)
ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์ เป็นไฉน คือ

ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็น
อย่างนี้ว่า "โทษในกามทั้งหลาย หามีอยู่ไม่" พวกเขาจึงพากันถึงความเป็นผู้
ดื่มด่ำในกามทั้งหลาย. พวกเขาแลย่อมใช้ให้พวกปริพพาชิกาที่ขมวดมวยผม
บำรุงบำเรอ (ตน), พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า " อะไรกันนะ ที่พวกสมณ-
พราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคต ในกามทั้งหลายอยู่ มาพา
กันกล่าวถึงการละกามทั้งหลาย" แล้วก็ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้ง
หลายไว้ สัมผัสแขนที่มีขนนุ่มของปริพพาชิการุ่นๆ นี้ ช่างเป็นสุขเสียนี่กระ
ไร พวกเขาย่อมถึงความดื่มด่ำในกามทั้งหลาย เมื่อพวกเขาถึงความดื่มด่ำ
ในกามทั้งหลายแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็ย่อมเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก. พวกเขาย่อมเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ แข็งกล้า เผ็ด
ร้อนในที่นั้น, พวกเขาจึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า "นี้แล ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้
เจริญ เหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลายอยู่ พากันกล่าวถึงการ
ละกามทั้งหลายแล้ว ย่อมบัญญัติการกำหนดรู้กามทั้งหลายไว้. ก็พวกเรา
เหล่านี้ ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์แข็งกล้า เผ็ดร้อนก็เพราะกามเป็น
เหตุ เพราะกามเป็นเค้ามูล.
ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ผลสุกของย่างทราย (ย่านไทร)
พึงแตกในเดือนท้ายฤดูร้อน. ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พืชย่างทราย
นั้น ก็จะพึงตกไปที่โคนสาละ (รังแบบอินเดีย) ต้นใดต้นหนึ่ง. ครั้งนั้นแล
ภิกษุทั้งหลาย เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้น ก็เกิดกลัว ตกใจ พึงถึงความ
สะดุ้ง. ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ของเทวดาผู้สิงอยู่ที่
ต้นสาละนั้น พวกเทวดาที่สิงอยูในสวน เทวดาที่อยู่ในป่า เทวดาที่อยู่ตามต้น
ไม้ เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้ (ที่ตายเมื่อมีผลแก่) ที่ต้นหญ้าและที่ต้นไม้
ใหญ่ๆ ต่างก็มาประชุมพร้อมกันแล้วก็ปลอบโยนย่างนี้ว่า "ผู้เจริญ อย่ากลัว
ไปเลย อย่ากลัวไปเลย ผู้เจริญ. อย่างไรเสีย พืชย่างทรายนี้ นกยูงก็จะพึง

กลืน, เนื้อก็จะพึงเคี้ยวกิน, ไฟป่าก็จะพึงไหม้, พวกคนงานในป่า ก็จะพึง
ถอน, พวกปลวกก็จะพึงขึ้น, หรือก็จะพึงเป็นพืชที่ไม่งอกอีกแล้ว. ภิกษุทั้ง
หลาย ครั้งนั้นแล นกยูงก็ไม่กลืนพืชย่างทรายนั้นเลย เนื้อก็ไม่เคี้ยวกิน
ไฟป่าก็ไม่ไหม้ พวกคนงานในป่าก็ไม่ถอน พวกปลวกก็ไม่ขึ้น, และพืชก็ยัง
จะงอกได้. พืชนั้นถูกฝนที่เมฆหลั่งลงรด ก็งอกได้งอกดี เถาย่างทรายนั้นก็
เป็นต้นอ่อนๆ มีขนอ่อนนุ่ม เลื้อยทอดยอดไปเรื่อย แล้วมันก็เข้าไปเกาะต้น
สาละนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนี้แล เทวดาผู้สิ่งอยู่ที่ต้นสาละนั้น ก็พึงมีความ
คิดอย่างนี้ว่า "อะไรกันนะ ที่พวกเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง เทวดาที่อยู่ตาม
สวน เทวดาที่อยู่ในป่า เทวดาที่อยู่ตามต้นไม้ เทวดาที่อยู่ที่ต้นไม้ (ที่ตายเมื่อ
ผลแก่) ที่ต้นหญ้าและที่ต้นไม้ใหญ่ๆ ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตใน
พืชย่างทรายอยู่ ต่างก็มาประชุมพร้อมกัน แล้วก็ปลอบโยนอย่างนี้ว่า "ผู้
เจริญ! อย่ากลัวไปเลย อย่ากลัวไปเลย ผู้เจริญ, อย่างไรเสีย พืชย่างทราย
นี้ นกยูงก็จะพึงกลืน, เนื้อก็พึงเคี้ยวกิน, ไฟป่าก็จะพึงไหม้, พวกคนงานใน
ป่าก็จะพึงถอน พวกปลวกก็จะพึงขึ้น หรือก็มันจะต้องหมดสภาพเป็น
พืช. สัมผัสของเถาย่างทราย ที่อ่อนๆ มีขนนุ่มๆ เลื้อยทอดยอดไปเรื่อยนี้
ช่างเป็นสุขเสียนี่กระไร. เถาย่างทรายนั้น ก็ล้อมรัดต้นสาละนั้น. เมื่อมันล้อม
รัดต้นสาละนั้น สูงจนถึงค่าคบแล้ว ก็ทำให้เกิดความทึบลง ซึ่งจะพึงทำลาย
ลำต้นใหญ่ๆ ของต้นสาละนั้นได้.

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้น ก็จะพึงมีความ
คิดอย่างนี้ว่า นี้เองที่พวกเพื่อฝูง ญาติพี่น้อง เทวดาที่อยู่ตามสวน เทวดาที่อยู่
ในป่า เทวดาที่อยู่ตามต้นไม้ เทวดาที่อยู่ต้นไม้ (ที่ตายเมื่อลูกแก่) ที่ต้น
หญ้า และที่ต้นไม้ใหญ่ๆ ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในพืชย่าง

ทรายอยู่ ต่างก็มาประชุมพร้อมกันแล้วปลอบโยนอย่างนี้ว่า " ผู้เจริญ
อย่ากลัวไปเลย อย่ากลัวไปเลย ผู้เจริญ, อย่างไรเสีย นกยูงก็จะพึงกลืนกิน
พืชย่างทรายนี้ ฯลฯ หรือมันก็จะต้องหมดสภาพเป็นพืช. เรานั้น ย่อมเสวย
เวทนาที่เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ก็เพราะพืชย่างทรายเป็นเหตุ โดย
แท้ แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่าง
นี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า โทษในกามทั้งหลายหามีอยู่ไม่ พวกเขาจึงพากันถึง
ความดื่มด่ำในกามทั้งหลาย พวกเขาแล ย่อมใช้ให้พวกปริพพาชิกาที่
เกล้ามวยผมบำรุงบำเรอ (ตน) พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า "อะไรกันนะ ที่พวก
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลายอยู่
มาพากันกล่าวถึงการละกามทั้งหลายแล้ว ก็บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้ง
หลายไว้. สัมผัสแขนที่มีขนอ่อนนุ่มของปริพพาชิการุ่น ๆ นี้ ช่างเป็นสุขเสีย
นี่กระไร แล้วพวกเขาก็ย่อมถึงความดื่มด่ำในกามทั้งหลาย. เมื่อพวกเขาถึง
ความดื่มด่ำในกามทั้งหลายแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็ย่อมเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. พวกเขาย่อมเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ กล้า
แข็ง เผ็ดร้อนในที่นั้น. พวกเขาจึงพากันกล่าวในที่นั้นอย่างนี้ว่า "นี้เอง
ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลาย
อยู่ พากันกล่าวถึงการละกามทั้งหลาย แล้วย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กาม
ทั้งหลายไว้. ก็พวกเราเหล่านี้ ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ แข็งกล้า เผ็ด
ร้อน ก็เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเค้ามูล.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การยึดมั่นสิ่งที่เป็นสุขในปัจจุบัน
(แต่) ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์.

[517] ภิกษุทั้งหลาย ก็การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และ
ต่อไปก็ให้ผลเป็นทุกข์ เป็นไฉน คือ:-

ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้ มีชีเปลือยบางคน ปล่อยมรรยาททิ้งเสีย
แล้ว ใช้มือเช็ดอุจจาระไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่า "ผู้เจริญมา, ไม่รับ
อาหารที่เขาร้องเชิญว่า "ผู้เจริญจงหยุดก่อน ไม่ยินดีอาหารที่เขานำมา
จำเพาะ ไม่ยินดีอาหารที่เขาเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขานิมนต์, ไม่รับอาหาร
จากปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู
ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารของสอง
คนที่กำลังกินอยู่ ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงที่
กำลังให้ลูกดื่มนมอยู่ ไม่รับอาหารของหญิงที่อยู่ระหว่างชาย ไม่รับอาหารของสอง
อาหารที่คนชักชวนร่วมกันทำ ไม่รับอาหารในที่ที่สุนัขเข้าไปยืนเฝ้าอยู่ ไม่รับ
อาหารในที่ที่เห็นแมลงวันบินไปเป็นหมู่ๆ ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่รับ
สุรา ไม่รับเมรัย ไม่ดื่มน้ำดองด้วยแกลบ รับเรือนเดียว ก็กินคำเดียวบ้าง
รับสองเรือน ก็กินสองคำบ้าง ฯลฯ รับเจ็ดเรือน ก็กินเจ็ดคำบ้าง, เลี้ยงร่าง
กายด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ ภาชนะเดียวบ้าง เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารใน
ภาชนะน้อยๆ สองภาชนะบ้าง ฯลฯ เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะ
น้อยๆ เจ็ดภาชนะบ้าง, กินอาหารที่เก็บไว้วันเดียวบ้าง กินอาหารที่เก็บ
ไว้สองวันบ้าง ฯลฯ กินอาหารที่เก็บไว้เจ็ดวันบ้าง, ประกอบความเพียรใน
ภัตรและโภชนะในแบบอย่างนี้ จนถึงกึ่งเดือน ด้วยอาการอย่างนี้. กินผัก
บ้าง กินหญ้ากับแกบ้าง กินลูกเดือยบ้าง กินเปลือกไม้บ้าง กินสาหร่าย
บ้าง กินรำข้าวบ้าง กินข้าวตังบ้าง กินข้าวสารหักบ้าง กินหญ้าบ้าง กิน
ขี้วัวบ้าง, กินรากไม้และผลไม้ในป่าบ้าง กินผลไม้ที่หล่นเองบ้าง นุ่งห่มผ้าป่าน
บ้าง นุ่งห่มผ้าที่เจือกันบ้าง นุ่งห่มผ้าที่เขาทิ้งไว้ที่ซากศพบ้าง นุ่งห่มผ้าคลุก

ดานกรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากำพลผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากำพลทำด้วยขนหางสัตว์
บ้าง นุ่งห่มปีกนกเค้าบ้าง ตัดผมและหนวด ตามประกอบความเพียรในการ
ตัดผมและหนวด ยืนกระหย่งห้ามเสียซึ่งการนั่ง, เดินกระหย่ง ตามประกอบ
ความเพียรในการเดินกระหย่งบ้าง, ประกอบความเพียรในการยืน การ
เดินบนหนาม สำเร็จการนอนบนที่นอนที่เอาหนามมาทำ ตามประกอบความ
เพียรในการลงน้ำ เวลาเย็นเป็นครั้งที่สามบ้าง เป็นผู้ตามประกอบความเพียร
ในการทำกายให้เหือดแห้งเร่าร้อนด้วยวิธีต่างๆ เช่นนี้ด้วยอาการอย่าง
นี้. เขาเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การถือมั่นธรรมที่ปัจจุบันก็เป็น
ทุกข์ และต่อไปก็ให้ผลเป็นทุกข์


[518] ภิกษุทั้งหลาย ก็การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ (แต่)
แต่ไปให้ผลเป็นสุข เป็นไฉน คือ:-
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางพวกในโลกนี้โดยปกติ เป็นผู้มีราคะค่อน
ข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากราคะเนืองๆ, โดยปกติ เป็นผู้มี
โทสะค่อนข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากโทสะเนืองๆ, โดยปกติ
เป็นผู้มีโมหะค่อนข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากโมหะเนือง ๆ,
เขาถูกกระทบพร้อมทั้งทุกข์บ้าง พร้อมทั้งโทมนัสบ้าง ถึงจะร้องไห้มีน้ำ
ตานองหน้าอยู่ ก็ยังสู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้. เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก เขาก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
"ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็น
ทุกข์(แต่) ต่อไปให้ผลเป็นสุข''

[519] ภิกษุทั้งหลาย ก็การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นสุขและ
ต่อไปก็ยังให้ผลเป็นสุข เป็นไฉน คือ.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางพวกในโลกนี้โดยปกติก็ไม่ใช่เป็นคนมีราคะ
ค่อนข้างจะรุนแรง เขาก็ไม่ใช่เสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากราคะเนืองๆ,
โดยปกติ ก็ไม่ใช่เป็นคนมีโทสะค่อนข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่
เกิดจากโทสะเนืองๆ, ก็หามิได้. โดยปกติไม่ใช่เป็นคนมีโมหะค่อนข้างจะรุน
แรง. เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากโมหะเนืองๆ ก็หามิได้. เขาสงัดจากกาม
ทั้งหลายได้จริงๆ สงัดจากเรื่องอกุศลทั้งหลายได้แล้ว ก็เข้าถึงฌานที่
หนึ่ง ซึ่งยังมีตรึก ยังมีตรอง มีความเอิบอิ่มใจและความสบายที่เกิดจากความ
สงัดแล้วแลอยู่. เพราะเข้าไประงับความตรึก และความตรองได้ ก็เข้าถึงฌาน
ที่สองซึ่งไม่มีความแจ่มใสในภายใจโดดเด่น ไม่มีความตรึก ไม่มีความ
ตรอง มีความอิ่มเอิบใจและความสบายที่เกิดจากใจตั้งมั่นแล้วแลอยู่.......
เข้าถึงฌานที่สาม......เข้าถึงฌานที่สี่แล้วแลอยู่. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย
แตกไปเขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นสุข
และยังมีสุขเป็นผลต่อไป.
ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งทั่งหลาย 4 อย่างเหล่านี้แล.


พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมบรรยายนี้จบแล้ว. ภิกษุเหล่า
นั้น มีความยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างยิ่ง ด้วยประการ
ฉะนี้.

จบ จูฬธัมมสมาทานสูตร ที่ 5.

อรรถกถาจูฬธัมมสมาทานาสูตร



จูฬธัมมสมาทานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "สมาทานธรรม" ได้แก่การถือที่ท่านถือ
เอาด้วยบทว่า ธรรมดังนี้.
บทว่า "ความสุขที่เกิดในปัจจุบัน" ได้แก่ "ความสุขในปัจจุบัน".
ความสุขในการประมวลมาทำได้ง่าย คือ อาจให้เต็มได้โดยง่าย.
บทว่า "ผลที่เป็นทุกข์ข้างหน้า" ได้แก่ ผลที่เป็นทุกข์ ในกาลให้ผล
ในอนาคต". พึงทราบอธิบายในบททั้งปวงโดยอุบายนี้.
บทว่า "ไม่มีโทษในกามทั้งหลาย" ความว่า "ไม่มีโทษในวัตถุกาม
บ้าง กิเลสกามบ้าง".
บทว่า "ถึงความเป็นเป็นผู้ดื่มด่ำ" ความว่า สมณพราหมณ์เหล่า
นั้น ถึงความดื่มด่ำ คือความเป็นสิ่งที่ตนพึงดื่ม ได้แก่ ความเป็นสิ่งที่ตนพึง
บริโภคตามชอบใจ ด้วยกิเลสกามในวัตถุกาม.
บทว่า "ผูกให้เป็นจุก" ได้แก่ "พวกดาบสและปริพาชกผู้เกล้าผมทำ
ให้เป็นจุก.
บทว่า "กล่าวอย่างนี้" คือ "ย่อมกล่าวอย่างนี้."
บทว่า "ย่อมบัญญัติการกำหนดรู้" ได้แก่ ย่อมบัญญัติการละคือ
การก้าวล่วง."
บทว่า "ฝักเถายางทราย" ได้แก่ "ฝักเถาที่สุกแล้ว จะมี
สัณฐานยาว."
บทว่า "พึงแตก" ความว่า แห้งด้วยแดดแล้วแตก."